เทศบาลนครแม่สอดร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อบรมเชิงรุก (Active Learning)

เทศบาลนครแม่สอดร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อบรมเชิงรุก (Active Learning) สําหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก
           เทศบาลนครแม่สอดโดยว่าที่ร้อยตรีประเสริฐ ปวงละคร นายกเทศมนตรีนครแม่สอดมอบหมายให้นายกรณพงศ์ คงปาน รองนายกเทศมนตรีนครแม่สอด ประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สําหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดเทศบาลนครแม่สอด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เทศบาลนครแม่สอด ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ศน.ครรชิต บุญผล ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ผู้เป็นวิทยากรต้นแบบและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ ดร.สลิลนา ภูมิพาณิชย์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ พิเศษ เทศบาลเมืองสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และการส่งเสริมสนับสนุนของสถานศึกษาใน สังกัดทุกแห่ง ที่เห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยส่งครูและบุคลากรทางการ ศึกษาเข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้
          ศน.ครรชิต มนูญผล กล่าวว่า Active Learning หรือการเรียนรู้แบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระสร้าง “นวัตกรสังคม” ในศตวรรษที่ 21 +VUCA World จึงเป็นทางออกที่สำคัญของการศึกษาไทยหรือการศึกษาของโลก เป็นการบูรณการมาตรฐาน หรือตัวชี้วัด จำนวนมากข้ามกลุ่มสาระแล้วจัดการเรียนรู้ไปด้วยกัน ตามเนื้อหาที่จำเป็นและเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละกลุ่มแต่ละคน ไม่ ต้องถูกบังคับให้เรียนเนื้อหาที่ตนเองไม่สนใจและไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อีกต่อไป ชิ้นงานและภาระงานเป็นสิ่งที่ สอดคล้องชีวิตจริงมากขึ้น เน้นการสร้างรายได้ ไม่เรียนแบบสูญเปล่า กระบวนการเรียนรู้ที่นำมาใช้จะช่วยให้เด็กแต่และคน ค้นพบตัวตนของตนเองได้เร็วที่สุดและเสริมสร้างจนเป็นอัจฉริยะ เด็กจะเกิดสมรรถนะที่จำเป็นในการทำงานและอยู่ในโลก แบบนี้อย่างมีความสุขและปลอดภัย
          นายพีระ วงค์หมอ ผู้อำนวยการกองการศึกษา กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้เชิงรุก หรือ Active learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน มุ่งให้ ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำปรึกษาดูแล แนะนำ ทำหน้าที่เป็นโค้ชและพี่เลี้ยง (Coach & Mentor) แสวงหาเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful learning) ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้ มีความเข้าใจในตนเอง ใช้สติปัญญา คิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม ที่บ่งบอกถึงการมีสมรรถนะสำคัญในศตวรรษที่ 21 มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะวิชาชีพ บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตามระดับช่วงวัย ณ ศูนย์กลางแสดงสินค้า และศูนย์ประชุมเพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยว (OTOP) เทศบาลนครแม่สอด
**************************
เศรษฐชาติ แหงมงาม ประชาสัมพันธ์สถานศึกษา รายงาน

You may also like...