สรุปกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคที่มาจากยุงลาย

โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ

         ในทุกๆ ปีจะมีคนมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคที่ยุงเป็นพาหะ และมีหลายร้อยล้านคนที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่ยุงเป็นพาหะ

         โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากยุงลาย จะมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20,000 รายต่อปี และสำหรับประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2561 มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวมกว่า 542,827 ราย และเสียชีวิตกว่า 550 ราย

โรคที่มียุงเป็นพาหะในประเทศไทย มีดังนี้

         ไข้เลือดออก หรือ ไข้เดงกี่ – มียุงลายเป็นพาหะ ไข้เลือดออกมักพบในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตามชุมชนเมืองหรือกึ่งเมือง ซึ่งมีประชากรหนาแน่น อ่านต่อ..

         โรคติดเชื้อไวรัสซิกา – เป็นโรคติดเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ที่มียุงเป็นพาหะ และพบเป็นครั้งแรกใน rhesus monkey หรือลิงวอก โดยเครือข่ายเฝ้าระวังโรคไข้เหลืองในป่าที่ประเทศยูกันดาในปี ค.ศ.1947 (พ.ศ. 2490) ต่อมาจึงพบไวรัสซิกาในมนุษย์ในปี ค.ศ.1952 (พ.ศ. 2495) ในทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา และเอเชียแปซิฟิก อ่านต่อ..

         ไข้มาลาเรีย หรือ ไข้จับสั่น – มีสาเหตุจากปรสิตโปรโตซัวที่ยุงก้นปล่องเป็นพาหะ โดยครึ่งหนึ่งของประชากรโลก หรือประมาณ 3.2 พันล้านคนมีความเสี่ยงเป็นโรคมาลาเรีย และ 85% ของผู้ป่วยมาลาเรียในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) มาจากแอฟริกาตอนใต้

         โรคติดเชื้อไข้สมองอักเสบ – เป็นโรคติดเชื้อรุนแรงจากไวรัสเจอี (JE : Japanese Encephalitis) มักพบบริเวณเขตชนบทในทวีปเอเชีย การติดเชื้อเจอีส่วนใหญ่ไม่รุนแรง (มีไข้และปวดหัว) หรือไม่มีอาการปรากฎชัด แต่จะมีผู้ติดเชื้อประมาณ 1 ใน 250 รายที่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรง

         โรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya) – โรคชิคุนกุนย่า หรือ โรคไวรัสข้ออักเสบ เป็นโรคติดต่อผ่านเชื้อไวรัสจากยุงลาย ผู้ป่วยมักมีอาการไข้สูงและปวดข้อ ร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ข้อบวม หรือผื่นแดง โรคชิคุนกุนยามักไม่ทำให้เสียชีวิต แต่อาจรุนแรงจนเกิดความพิการได้

 

You may also like...